วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บทที่5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผล
                การจัดทำโครงงานพบว่า การสืบค้นข้อมูลอาชีวะอนา มัยและความปลอดภัยในโรงบาลเพื่อทำการจัดการเกี่ยวกับระบบต่างๆ และเพื่อป้องกันโรงระบาดที่ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย เพื่อลดอัตราการบาดเจ็บหรือแม้กระทั้งการจัดระบบทำความสะอาดเครื่องมือต่างๆ รวมถึงการจัดท่าในการทำงาน
5.1.1 สรุปความสามารถในการตรวจสอบได้ดังนี้
                5.1.1.1 ผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บน้อยลง
                5.1.1.2 การทำงานมีประสิทธิภาพมากทำงานได้นานลดอาการปวดเมื่อย
                5.1.1.3 การจัดระบบทำให้ดูเป็นระเบียบมากขึ้น
5.1.2 ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงาน เรื่อง อาชีวะอนามัยและความปลอดภัยในโรงบาลทำให้โรงพยาบาลดูสะอาดมีอัตราผู้ป่วยลดลงโรคติดต่อลดลงเครื่องมือดูใหม่ขึ้น
5.2 ข้อจำกัด
                5.2.1 ในส่วนของการทำโครงงานนั้นตรวจสอบได้ไม่ค่อยละเอียดเพราะระยะเวลาที่สั้นจึงมุ้งเน้นในการไปสำรวจที่โรงพยาบาลหรืออนามัยชุมชนนั้นจีงทำได้ยาก
                5.2.2 เนื่องจากขาดทักษะและความชำนาญในการทำจึงเกิดข้อผิดพลาดบ่อยครั้งระหว่างการทำงานโครงงาน
5.3 ข้อเสนอแนะ
                5.3.1 ควรมีการแนะนำให้หาเวลาว่างเพื่อผ่อนคลาย
                5.3.2 ควรมีการป้องกันและให้คำแนะนำแก่ผู้ที่ทำงานหนักๆ
                5.3.3 ควรสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ป่วยที่มีอาการเครียดมากกว่านี้



บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
              ในการจัดทำโครงงานเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล ก็จะทำในส่วนของเนื้อหาเกี่ยวกับ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล ความปลอดภัยในการทำงานทางกายภาพ ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับสารเคมี การยศาสตร์ การดำเนินการด้านชีวอนามัยในโรงพยาบาล โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบบ่อย และอื่นๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในโรงพยาบาล และนำเสนอผลงานออกมาเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการทำโครงงานไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่มีความสนใจในด้านความปลอดภัยในโรงพยาบาลได้เข้ามาศึกษาและให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับอาชีวอนามัยในโรงพยาบาลให้มากขึ้น เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนในการทำงาน รักษาสุขภาพในการทำงานและประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต มีผลการดำเนินงาน ดังนี้










บทที่ 3
ขั้นตอนการดำเนินงาน
วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1.             โน้ตบุ้ค
2.             อินเทอร์เน็ต
3.             หนังสือที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล
4.             เอกสารออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับอาชีววอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล
5.             เครื่องพิมพ์
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.             วางแผนกันในกลุ่มว่าจะทำหัวข้ออะไร แล้วเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
2.             กำหนดหัวข้อหลักเพื่อที่จะศึกษาเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล
3.             แบ่งหน้าที่กันค้นคว้าหาข้อมูลที่จะศึกษาตามหัวข้อหลักของเรื่อง
4.             นำข้อมูลที่ได้มาจัดเรียงตามหัวข้อที่วางไว้
5.             รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน พร้อมส่งอาจารย์ที่ปรึกษาตรวจดูเป็นระยะ
6.             จัดทำโครงร่างของโครงงานเพื่อนำเสนอ
7.             เผยแพร่ข้อมูลผ่านทางเว็บบล็อก
8.             ประเมินผลการศึกษา
9.             เตรียมข้อมูลนำเสนอหน้าห้องเรียน





สร้างเว็บบล็อก ( Blogger )

1.เข้าไปที่ http://www.blogger.com/ จะเจอหน้าจอแบบนี้ ดังรูป 1.1
รูป 1.1

2.ให้คลิกตรงที่สร้างเว็บบล็อกใหม่ ดังรูป 1.2
รูป 1.2

3.ตั้งชื่อหัวข้อที่เราจะทำ ที่อยู่ของเว็บบล็อก  ดังรูป 1.3
รูป 1.3

4.เริ่มลงมือเขียนบล็อกตามที่เราต้องการ ดังรูป 1.4
รูป 1.4

5.ตกแต่งสีสัน หรือตัวหนังสือตามที่เราชอบ ก็เป็นอันเสร็จ  ดังรูป 1.5
รูป 1.5


โรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานทำงานในโรงพยาบา ความเครียดในงาน
เหตุก่อความเครียดทางจิตสังคม
1.       ระบบบริหารงาน
2.       ความสัมพันธ์ในงาน
3.       สังคมนอกงาน
4.       สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เคมี กายภาพ เครื่องมือ  เครื่องจักร
5.       การจ้างงาน
6.       การจัดงาน
ข้อเสนอแนะการจัดการความเครียดในองค์กร
1.       การค้นหาปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดไม่ควรมองแยกส่วน แต่ควรมองให้เป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน
2.       โครงการลดความเครียดในที่ทำงาน
3.       จัดให้มีโครงการบริหารความเครียดในองค์กร หรือจัดกิจกรรมลดความเครียดในองค์กร
4.       ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานให้น่าอยู่ น่าทำงาน

6.   กลุ่มอาการ กระดูก  ข้อ  กล้ามเนื้ออักเสบ   เช่น
6.1 เส้นประสาทข้อมืออักเสบ
·       เป็นอาการเส้นประสาทถูกกดทับที่พบบ่อยที่สุด
·       จะมีอาการปวด ชา และกล้ามเนื้อมือลีบ เป็นอาการเฉพาะ
อาการ และ อาการแสดง
·       ปวดและ ชา นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ ครึ่งหนึ่งของนิ้วกลาง(ส่วนที่เลี้ยงโดย median nerve)
·       บางรายตื่นกลางดึกเพราะปวดเมื่อสะบัดข้อมือจึงทุเลา
·       อาการกำเริบเมื่องอหรือเหยียดข้อมือขณะทำงาน
การป้องกัน
·       ลดความเร่งในการทำงาน ลดระยะเวลาที่ทำงานบิดข้อมือลง
·       บริหารกล้ามเนื้อข้อมือให้แข็งแรง
·       ปรับท่าทางในการทำงานให้พอดี
·       ใช้เครื่องมือช่วยในการปฏิบัติงานแทนการใช้แรงข้อมือ

6.2 โรคปวดหลังในงาน  
          เกิดการตึงตัว เกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณเอว หรือ หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อน
สาเหตุของโรคปวดหลัง
·       การนั่งผิดท่าเช่น การนั่งหลังโก่ง นั่งบิดๆ
·       นั่งขับรถหลังโก่ง
·       การยืนที่ผิดท่า
·       การยกของผิดท่า
·       การนอนบนที่นอนที่นุ่มหรือแข็งเกินไป
·       ร่างกายไม่แข็งแรง
·       ทำงานมากไป
การป้องกัน
·       คัดคนให้เหมาะกับงาน
·       การหมั่นออกกำลังกายเสริมความแข็งแรง
·       ท่าทางที่ถูกต้อง
·       น้ำหนักที่ยกไม่เกินพิกัด การใช้เครื่องทุ่นแรง
ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคปวดหลัง
·       หลีกเลี่ยงจากการงอเอว ให้งอข้อสะโพกและเข่าร่วมด้วย
·       หลีกเลี่ยงจากการยกของหนักโดยเฉพาะที่อยู่เกินเอว
·       หันหน้าเข้าสิ่งของทุกครั้งที่จะยกของ
·       ถือของหนักชิดตัว
·       ไม่ยกหรือผลักของที่หนักเกินตัว หลีกเลี่ยงการยกของที่มีน้ำหนักไม่เท่ากัน
·       หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
·       เปลี่ยนท่าบ่อยๆ
·       การถูพื้น ดูดฝุ่น การขุดดิน ควรจะถือเครื่องมือไว้ใกล้ตัว ไม่ก้าวยาวๆหรือเอื้อมมือหยิบของ
·       ให้นั่งสวมถุงเท้า รองเท้า ไม่ยืนเท้าข้างเดียวสวมรองเท้าหรือถุงเท้า
·       หลีกเลี่ยงการแอ่นหรืองอหลัง เช่นการแอ่นหลังไปข้างหลังหรือก้มเอานิ้วมือจรดพื้น
·       เมื่อจะไอหรือจามให้กระชับหลังและงอหัวเข่า
·       เวลาปูเตียงให้คุกเข่า
·       นั่งหลังตรงและมีพนักพิงที่หลัง  หาหมอนหรือผ้ารองบริเวณเอว ให้ยืนยืดเส้นทุก 20-30 นาที
·       การยืน..อย่ายืนหลังค่อม  ให้ยืนยืดไหล่อย่าห่อไหล่เพราะจะเมื่อยคอ  อย่าใส่รองเท้าที่ส้นสูงมาก
·       การยก ย้ายสิ่งของ   ให้เลือกวิธีอื่นเช่น การผลักหรือดัน  ,  เวลาจะยกให้เดินเข้าใกล้สิ่งที่จะยก ย่อเขาลงแล้วจับแล้วยืนขึ้น  , ไม่ก้มหลังยกของ

 อ้างอิง

http://www.prosofthrmi.com/ArticleList.aspx?ArticleTypeID=2138
http://maptaphuthospital.com/node/12
https://sites.google.com/site/sittkomkm/xachiw-xnamay







ข้อดีและประโยชน์ที่ได้จากการทำ KPIs
1. KPIs เป็นหัวใจที่เป็นตัวผลักดันให้องค์กรประสบความสำเร็จ
2. เป็นยุทธวิธีที่ปรับให้สำเร็จตามภารกิจของหน่วยงาน
3. ช่วยลดช่องว่างระหว่างหน่วยงานในองค์กรเพื่อผลักดันองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
4. เป็นดัชนีวัดผลสำเร็จทางธุรกิจที่ครอบคลุมทั้งการวัดด้านการเงินที่เป็นผลลัพธ์ในอดีต
และการวัดตัวผลักดันผลลัพในอนาคต


หลักเกณฑ์ในการกำหนดดัชนีวัดผลสำเร็จ
1. สอดคล้องหรือตรงประเด็น ( Relevance ) สามารถพิจารณาได้จาก ความเที่ยงตรง ( Validity ) คือ ตัวชี้วัดต้องครอบคลุมในประเด็นที่ต้องการประเมิน ความเชื่อถือได้ ( Reliability ) ตัวชี้วัดต้องให้ค่าจากการวัดคงเส้นคงวา
2. ความเป็นรูปธรรม ( Objective and Reproducible ) หมายความว่าตัวชี้วัดที่ดีจะต้องชัดเจนสามารถวัดได้เป็นตัวเลข
3.ความไว ( Sensitivity ) ดัชนีวัดผลสำเร็จที่ดีต้องแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงแม้สถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไม่มากก็ตาม

4. การยอมรับ (Acceptance ) ดัชนีวัดผลสำเร็จที่ดีต้องได้รับการยอมรับจากผู้ปฏิบัติ และผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ หรือมีส่วนได้เสีย
ดัชนีการบาดเจ็บพิการ (Disabling injury index = D.I.I.)
        การคำนวณดัชนีการบาดเจ็บพิการเพื่อเป็นการช่วยพิจารณาตัดสินความรุนแรงของปัญหา โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างอัตราความถี่การบาดเจ็บและอัตราความรุนแรงของการบาดเจ็บรวมออกมาเป็นดัชนีเดียวกัน
D.I.I.=IFR*ISR/1000
       ในกรณีที่คนทำงานได้รับบาดเจ็บและมีการสูญเสียอวัยวะบางส่วนในการคำนวณความรุนแรงของการบาดเจ็บจะต้องคิด
ถึงวันที่ต้องสูญเสียไปเนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามปกติได้
SAFE – T – SCORE
ค่าของ STS เป็นค่าที่ไม่มีหน่วย ซึ่งผลการคำนวณตามสูตรออกมาจะมีความหมาย ดังนี้
1. ถ้า STS อยู่ระหว่าง + 2.00 และ –2.00 แสดงว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ได้ได้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการ RANDOM FLUCTUATION
2. ถ้า STS มีค่าตั้งแต่ + 2.00 ขึ้นไป แสดงว่า ข้อมูลสถิติหรืออัตราการประสบอันตรายในปัจจุบันเลวกว่าอดีตที่ผ่านมา ซึ่งหมายถึงว่ามีอะไรบางสิ่งบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้น

3. ถ้า STS มีค่าตั้งแต่ -2.00 ลงไป แสดงว่าข้อมูลสถิติหรืออัตราการประสบอันตรายในปัจจุบันดีกว่าในอดีตที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี