การเก็บรักษาสารเคมี
มีหลักการทั่วไปดังนี้
1. เก็บรักษาตามคำแนะนำใน MSDS (Material Safety Data Sheet) และ SG (Specific Gravity)
1. เก็บรักษาตามคำแนะนำใน MSDS (Material Safety Data Sheet) และ SG (Specific Gravity)
2.
ควรมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับการจัดเก็บ เช่น
จัดวางให้อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้ดี จัดเก็บห่างจากแหล่งกําเนิดความร้อน เปลวไฟ
หรือประกายไฟ ไม่ควรถูกแดดส่องถึงโดยตรง ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณที่เก็บสารเคมี
ควรมีการดูแลความสะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ ไม่ให้มีสิ่งกีดขวางตามทางเดินรอบๆ
ถ้าเป็นไปได้ควรมีห้องหรือสถานที่เก็บสารเคมีโดยเฉพาะ แยกจากห้องปฏิบัติการ
3. ชั้นวางสารเคมีควรมีแผ่นป้ายด้านหลังและด้านข้าง และมีขอบกั้นด้านหน้า หรืออาจยกด้านหน้าของชั้นให้สูงขึ้นประมาณ 1/4 นิ้วเพื่อป้องกันไม่ให้ขวดสารเคมีหล่นจากชั้น
4. ควรจัดวางสารเคมีอย่างเป็นระเบียบ ไม่หนาแน่นเกินไป
5. ควรวางสารเคมีให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงกว่าระดับสายตา ถ้าเป็นขวดหรือภาชนะบรรจุขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมากให้วางชั้นล่างสุด
6. ไม่ควรจัดเก็บสารเคมีโดยเรียงลําดับตามตัวอักษรแต่ เพียงอย่างเดียว สารเคมีที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างกันได้ง่าย หรืออาจเรียก สารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ ไม่ควรวางเก็บไว้ใกล้กัน เช่น สารเคมีที่เป็นด่างไม่ควรเก็บไว้ ใกล้สารเคมีที่เป็นกรด และสารเคมีชนิดออกซิไดส์ควรจะเก็บแยกจากชนิดรีดิวซ์
7. ภาชนะบรรจุสารเคมีต้องมีฝาปิดแน่นสนิท อากาศเข้าไม่ได้
8. ทำตามข้อควรระวังในการเก็บสารเคมีแต่ละประเภท ตัวอย่างข้อควรระวังที่สำคัญ เช่น
9. สารกัดกร่อน ควรวางภาชนะที่บรรจุสารกัดกร่อนไว้ในถาด หรือซ้อนไว้ในภาชนะอีกชั้นหนึ่ง
3. ชั้นวางสารเคมีควรมีแผ่นป้ายด้านหลังและด้านข้าง และมีขอบกั้นด้านหน้า หรืออาจยกด้านหน้าของชั้นให้สูงขึ้นประมาณ 1/4 นิ้วเพื่อป้องกันไม่ให้ขวดสารเคมีหล่นจากชั้น
4. ควรจัดวางสารเคมีอย่างเป็นระเบียบ ไม่หนาแน่นเกินไป
5. ควรวางสารเคมีให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงกว่าระดับสายตา ถ้าเป็นขวดหรือภาชนะบรรจุขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมากให้วางชั้นล่างสุด
6. ไม่ควรจัดเก็บสารเคมีโดยเรียงลําดับตามตัวอักษรแต่ เพียงอย่างเดียว สารเคมีที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างกันได้ง่าย หรืออาจเรียก สารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ ไม่ควรวางเก็บไว้ใกล้กัน เช่น สารเคมีที่เป็นด่างไม่ควรเก็บไว้ ใกล้สารเคมีที่เป็นกรด และสารเคมีชนิดออกซิไดส์ควรจะเก็บแยกจากชนิดรีดิวซ์
7. ภาชนะบรรจุสารเคมีต้องมีฝาปิดแน่นสนิท อากาศเข้าไม่ได้
8. ทำตามข้อควรระวังในการเก็บสารเคมีแต่ละประเภท ตัวอย่างข้อควรระวังที่สำคัญ เช่น
9. สารกัดกร่อน ควรวางภาชนะที่บรรจุสารกัดกร่อนไว้ในถาด หรือซ้อนไว้ในภาชนะอีกชั้นหนึ่ง
10. สารเคมีที่ติดไฟง่ายชนิดที่ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นชนิดกันระเบิด
11. สารพิษ และสารก่อมะเร็ง ต้องเก็บในที่มิดชิด
โดยใส่ตู้เก็บแยกกัน ต่างหากจากสารเคมีอื่น มีข้อความ "สารพิษ" และ
"สารก่อมะเร็ง" ติดให้เห็นชัดเจน
12. สารเคมีที่เหลือจากการนำออกไปใช้งานแล้ว ห้ามเทกลับลงในขวดหรือภาชนะเดิมอีก
12. สารเคมีที่เหลือจากการนำออกไปใช้งานแล้ว ห้ามเทกลับลงในขวดหรือภาชนะเดิมอีก
13. ตรวจสอบสารเคมีเป็นระยะว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
ตรวจหาสิ่งที่แสดงว่าสารเคมีเสื่อม เช่น ฝามีรอยแยก การตกตะกอนหรือแยกชั้น
มีการตกผลึกที่ก้นขวด เป็นต้น สารเคมีที่เสื่อมไม่ควรเก็บไว้ใช้ต่อ
ต้องนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี
14. สารเคมีที่ไม่มีป้ายชื่อบอก หรือมีสารอื่นเจือปนอยู่ หรือสารใดๆ ที่ไม่ต้องการ ต้องส่งไปกำจัดทิ้งอย่างเหมาะสม
ฉลากบนภาชนะบรรจุสารเคมี
14. สารเคมีที่ไม่มีป้ายชื่อบอก หรือมีสารอื่นเจือปนอยู่ หรือสารใดๆ ที่ไม่ต้องการ ต้องส่งไปกำจัดทิ้งอย่างเหมาะสม
ฉลากบนภาชนะบรรจุสารเคมี
ภาชนะใส่สารเคมีทุกชนิด
ต้องติดฉลากที่มีข้อมูลต่อไปนี้ให้ชัดเจน
1. ชื่อสารเคมีและส่วนประกอบที่มีความเป็นพิษของสารเคมี
2. คำเตือนที่เฉพาะเจาะจงต่อการเป็นอันตรายของสารเคมีที่บรรจุอยู่ (hazard warning) และข้อควรระวังในการเก็บและการใช้สารเคมีนั้นๆ
3. ชื่อผู้ผลิตและ/หรือตัวแทนจำหน่าย
4. ข้อมูลการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
5. บันทึกวันที่รับสารเคมีและวันเปิดใช้
1. ชื่อสารเคมีและส่วนประกอบที่มีความเป็นพิษของสารเคมี
2. คำเตือนที่เฉพาะเจาะจงต่อการเป็นอันตรายของสารเคมีที่บรรจุอยู่ (hazard warning) และข้อควรระวังในการเก็บและการใช้สารเคมีนั้นๆ
3. ชื่อผู้ผลิตและ/หรือตัวแทนจำหน่าย
4. ข้อมูลการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
5. บันทึกวันที่รับสารเคมีและวันเปิดใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น