วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน
         คณะกรรมการด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานนั้น นับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานด้านการดูแลสุขภาพของบุคลากรในการทำงานในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของคณะกรรมการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จะต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากผู้บริหารของโรงพยาบาล คณะกรรมการจะต้องดำเนินงานอย่างเป็นทางการ โดยมีการมอบหมายภารกิจความรับผิดชอบ และดำเนินงานในลักษณะของงานประจำที่เป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ที่ระบุไว้อย่างชัดเจน ดังนั้น ในการดำเนินงานเพื่อดูแลสุขภาพบุคลากรของโรงพยาบาลให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี และมีความปลอดภัยในการทำงาน และเกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกแผนก โรงพยาบาลจะต้องมีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้
 1. สร้างนโยบายของโรงพยาบาล โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และกำหนดแนวทางการดำเนินการร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ผู้ดำเนินการและบุคลากรทุกระดับของโรงพยาบาล
2. กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาล
3. กำหนดคณะกรรมการหรือคณะทำงาน หรือทีมงานและผู้ประสานงาน ซึ่งทีมงานจะเป็นผู้ที่มีหน้าที่และบทบาทโดยตรง เพื่อการดำเนินงาน ประสานงาน และสนับสนุนกิจกรรมทางด้านอาชีวอนามัยและการประเมินความเสี่ยง
4. จัดเตรียมเอกสารวิชาการ ข้อมูลต่างๆ ด้านความเสี่ยง และความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อเผยแพร่ให้ทีมงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อขอความร่วมมือ และการสนับสนุนจัดทำแผนงานโครงการและบริหารจัดการ
5. โรงพยาบาลจะต้องมีการจัดทำแผนงาน กิจกรรมและงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพบุคลากรในโรงพยาบาล
6. มีการพัฒนาทีมงานในการดำเนินงาน ให้มีความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานเพื่อร่วมดำเนินการประเมินความเสี่ยงได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
7. ดำเนินการประเมินความเสี่ยงทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในการทำงานในแผนกต่างๆ
8. มีการสื่อสารให้ข้อมูล และสร้างความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ตรวจพบ และการดำเนินการควบคุมความเสี่ยงที่พบ
9. ดำเนินการตรวจสุขภาพก่อนเข้างาน ตรวจสุขภาพประจำปี และตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงของแต่ละแผนกตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ
10. จัดให้มีการให้ภูมิคุ้มกันที่เหมาะสมแก่ผู้ปฏิบัติงาน
11. รวบรวมข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม ข้อมูลทางด้านสุขภาพ มีระบบการบันทึก จัดเก็บข้อมูลเป็นรายบุคคลโดยอาจบันทึกเป็นสมุดสุขภาพของเจ้าหน้าที่ ภาพรวมให้มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ตรวจพบ
12. ประเมินผลการดำเนินงาน การเฝ้าระวังสุขภาพ และการปรับปรุงแก้ไขสภาพการทำงานให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อการทำงาน
13. รวบรวมจัดทำสถานการณ์การประเมินความเสี่ยงสุขภาพของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล
14. รายงานผลสรุปความเสี่ยงด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่สำคัญของโรงพยาบาล สรุปผลสภาวะสุขภาพของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
15. จัดให้มีระบบเฝ้าระวังสุขภาพแก่บุคลากรในโรงพยาบาล  โดยในโรงพยาบาลเป็นสถานบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ซึ่งมีกระบวนการทำงานเป็นขั้นตอน ทำให้ต้องมีหน่วยงานอื่น ๆมาสนับสนุน เช่น หน่วยจ่ายกลาง ฝ่ายโภชนาการ หน่วยซ่อมบำรุง หน่วยงานพยาธิวิทยา แผนกเอ็กซเรย์ หน่วยซักฟอกเป็นต้น ในแต่ละหน่วยงานจะมีลักษณะงาน สภาพการทำงานและสิ่งแวดล้อมการทำงานที่แตกต่างกันไป บุคลากรที่ทำงานในโรงพยาบาลจึงมีโอกาสสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้แตกต่างกัน สิ่งคุกคามสุขภาพหมายถึง  สิ่งใดก็ตามที่มีอยู่ในพื้นที่ทำงาน ที่มีศักยภาพที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานซึ่งอาจมีผลต่อชีวิต การบาดเจ็บเล็กน้อยจนถึงรุนแรง และมีผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจ ตัวอย่างเช่น สารเคมี วัสดุอุปกรณ์ พลังงาน วิธีการทำงาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น