บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.
ความปลอดภัยในการทำงานทางกายภาพ
1.1
ระดับเสียงในการทำงาน
การปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนั้น บางหน่วยงานจะมีปัญหาสภาพแวดล้อมที่เกิดจากมลภาวะทางเสียง โรงพยาบาลขุนหาญจึงมีมาตรการในการป้องกันมลภาวะทางเสียงให้กับบุคลากรของโรงพยาบาล ดังนี้
โรคการได้ยินเสื่อมจากเสียงดัง
เป็นภาวการณ์เสื่อมของประสาทหูจากการสัมผัสกับเสียงรบกวน
ที่มีความดังมาก อาการมีเสียงในหูคล้ายเสียงแมลงหวี่ การได้ยินค่อยๆลดลง มักเป็น 2 ข้าง , กรณีกระทบเสียงดังทันทีอาจพบแก้วหูทะลุ , กรณีเรื้อรัง หูส่วนนอกและส่วนกลางปกติ
แนวทางการป้องกันความเสี่ยง
- แนะนำให้ทราบถึงอันตรายจากการได้รับเสียงเกินขนาด
- สนับสนุนให้มีการการใช้เครื่องป้องกันเสียงอย่างเหมาะสม
จุกอุดหู ลดความดังลงได้8-30 เดซิเบล
- รักษาสภาพของเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่ดี
เพื่อลดภาวะเสียงดังเกินปกติ
ระดับความดังของเสียงที่ยอมให้สัมผัสได้ตามกฎหมาย
ระดับเสียง(dBA)
|
ตัวอย่างสถานการณ์
|
ระยะเวลาสูงสุด เป็นชั่วโมง
|
85
|
เครื่องดูดฝุ่น
|
16
|
90
|
เสียงรถมอเตอร์ไซด์ ห่าง 25 ฟุต
|
8
|
95
|
4
|
|
100
|
รถไฟในระยะใกล้
|
2
|
105
|
1
|
|
110
|
เลื่อยไฟฟ้า
|
0.5
|
115
|
ดนตรีร็อค
|
0.25
|
ตรวจสมรรถภาพของการได้ยิน
ก่อนรับเข้าทำงาน และการตรวจซ้ำเป็นระยะในกลุ่มเสี่ยง
เพื่อหลีกเลี่ยงหูตึงที่เกิดขึ้นชั่วคราว
ก่อนการตรวจทุกครั้งควรให้คนงานหยุดพักการทำงานที่มีเสียงดังเป็นเวลา 8-16 ชั่วโมง สถานที่ตรวจต้องมีเสียงดังไม่เกิน 40 เดซิเบล ในกรณีไม่มีตู้ตรวจ
ตรวจซ้ำอีก 1 เดือนในกรณีสงสัยเป็นภาวะหูตึงชั่วคราว
แนวทางการปฏิบัติเมื่อเกิดความเสี่ยง
- ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดความเสี่ยง ตามคู่มือการบริหารความเสี่ยง
- เข้ารับการตรวจรักษาตามขั้นตอนการรับบริการ
- เมื่อพบว่ามีความผิดปกติในระหว่างตั้งครรภ์หลังจากการเกิดความเสี่ยงให้รีบปรึกษาแพทย์แต่เริ่มมีอาการ เช่น เด็กดิ้นน้อยลง มีเลือดออกจากปากช่องคลอด
หรือความผิดปกติอื่นๆ
- แจ้งข้อมูลการเจ็บป่วย/อุบัติเหตุตามแบบรายงานการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุของโรงพยาบาล
เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา และพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงนั้นๆ ต่อไป
เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา และพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงนั้นๆ ต่อไป
1.2 ระดับความสว่างในการทำงาน
การปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนั้น บางหน่วยงานจะมีปัญหาสภาพแวดล้อมที่เกิดจากปัญหาจากแสงสว่าง อาทิเช่น สถานที่ทำงานมีระดับความเข้มของแสงสว่างไม่เพียงพอ โรงพยาบาลขุนหาญจึงมีมาตรการในการป้องกันปัญหาหรือผลกระทบจากแสงสว่างในสถานที่ปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาล ดังนี้
แนวทางการป้องกันความเสี่ยง
การให้บุคลากรโรงพยาบาลได้เข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงจากแสงสว่าง ดังนี้
- ปัจจัยงาน เช่น
ลักษณะผิวของวัตถุ ขนาดและความห่าง ความเร็วของวัตถุ สี
- ปัจจัยคน
เช่น ข้อจำกัดของตา อายุ การปรับสายตา การรับรู้ความลึกของภาพและการแยกสี
- ลักษณะของแสงสว่าง
เช่น ระดับความเข้มของแสงสว่าง องค์ประกอบของแสง
- ขอบเขตของงาน
เช่น ข้อจำกัดขอบเขตของสายตาบนชิ้นงาน ข้อจำกัดด้านท่าทาง
การให้บุคลากรของโรงพยาบาลเข้าใจถึงข้อกำหนดด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับแสงสว่าง ดังนี้
ลักษณะงาน / สถานที่
|
มาตรฐานความเข้มแสง
|
แสงสว่างสำหรับทางเดิน
|
20 ลักซ์
|
งานที่ไม่ต้องการความละเอียด-การขนย้ายงานประกอบชิ้นส่วน
|
50 ลักซ์
|
งานละเอียดเล็กน้อย
|
100 ลักซ์
|
งานละเอียดปานกลาง- การเย็บผ้า
|
200 ลักซ์
|
งานละเอียดสูง-การกลึง แต่งโลหะ
|
300 ลักซ์
|
งานละเอียดสูงเป็นพิเศษ
|
1000 ลักซ์
|
- การตรวจสายตา
ภาวะความผิดปกติทางสายตา ก่อนเข้าทำงาน
- การตรวจสายตา
เป็นระยะตามลักษณะงาน
- การใช้อุปกรณ์ป้องกันตา และสายตาตามลักษณะงานที่จำเป็น
การปฏิบัติเมื่อเกิดความเสี่ยง
- ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดความเสี่ยง ตามคู่มือการบริหารความเสี่ยง
- เข้ารับการตรวจรักษาตามขั้นตอนการรับบริการ
-
ปฐมพยาบาลเบื้องต้น และเข้ารับการตรวจรักษาตามขั้นตอนการรับบริการ
- แจ้งข้อมูลการเจ็บป่วย/อุบัติเหตุตามแบบรายงานการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุของโรงพยาบาล
เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา และพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงนั้นๆ ต่อไป
เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา และพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงนั้นๆ ต่อไป
1.3 ความร้อนในการทำงาน
การปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนั้น บางหน่วยงานจะมีปัญหาสภาพแวดล้อมที่เกิดจากปัญหาจากความร้อนหรืออุณหภูมิในสถานที่ปฏิบัติงานสูงเกินไป ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานที่ดังกล่าว โรงพยาบาลขุนหาญจึงมีมาตรการในการป้องกันปัญหาหรือผลกระทบจากความร้อนหรืออุณหภูมิที่สูงกว่าค่าปกติในสถานที่ปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาล ดังนี้
แนวทางป้องกันความเสี่ยง
- การป้องกันไม่ให้ความร้อนภายในร่างกายสูงขึ้นเกิน 0.6 องศาเซลเซียส
- การจัดให้มีการระบายความร้อนหรือลดความร้อนที่เหมาะสมสำหรับสถานที่ทำงาน
ค่าจำกัดความร้อนที่ยอมให้บุคลากรสัมผัสความร้อนได้
ข้อกำหนดของการทำงาน
|
ปริมาณงาน
|
||
เบา
|
ปานกลาง
|
หนัก
|
|
ทำงานอย่างต่อเนื่อง
|
30.0 OC
|
26.7 OC
|
25.0 OC
|
ทำงาน 75 % พัก 25 %ในแต่ละชั่วโมง
|
30.6 OC
|
28.0 OC
|
25.9 OC
|
ทำงาน 50 % พัก 50 %ในแต่ละชั่วโมง
|
31.4 OC
|
29.4 OC
|
27.9 OC
|
ทำงาน 25 % พัก 75 %ในแต่ละชั่วโมง
|
32.4 OC
|
31.1 OC
|
30.0 OC
|
การใช้อุปกรณ์ป้องกันความร้อนที่เหมาะสมกับลักษณะงาน
- การเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
อุปกรณ์ช่วยชีวิต ไว้ในบริเวณที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างทันท่วงที และมีการกำหนดแผนอัคคีภัยภายในหน่วยงานและโรงพยาบาล
- ให้คำแนะนำในการสังเกตอาการผิดปกติของบุคลากร เช่น เป็นลมหน้ามืด ร่างกายร้อนผิดปกติ ชักจากความร้อน
- ตรวจสุขภาพก่อนทำงาน
เพื่อหาโรคประจำตัวที่มีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาจากความร้อน
- ตรวจร่างกายประจำปี เพื่อหาโรคที่เกิดในระหว่างปฏิบัติงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น