โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล (NOSOCOMIAL INFECTION)
คำจำกัดความ
โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลคือ
โรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยได้รับเชื้อขณะที่รับการรักษาในโรงพยาบาล
ส่วนอาการของโรคติดเชื้ออาจจะปรากฏขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลหรือออกจากโรงพยาบาลแล้ว
ตัวอย่างโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่เข้าใจง่ายคือ การติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
ซึ่งอาจจะมีอาการอักเสบขณะที่อยู่ในโรงพยาบาลหรือออกจากโรงพยาบาลแล้วก็ตาม
แต่บางโรคต้องอาศัยระยะฟักตัวของโรคนั้นเป็นเครื่องตัดสิน เช่น
เด็กรายหนึ่งหลังจากอยู่โรงพยาบาลเพื่อรักษาโรคหัวใจรูห์มาติกได้ 5 วันเริ่มมีอาการไข้ ต่อมามีผื่นซึ่งเป็นลักษณะของหัด
(measles) หัดนี้แม้จะเริ่มมีอาการหลังจากผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลแล้วก็ตาม
ไม่ถือว่าเป็นโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล เพราะว่าโรคนี้มีระยะฟักตัว (incubation
period) 8 ถึง 10 วัน แสดงว่าผู้ป่วยได้
รับเชื้อก่อนเข้าโรงพยาบาล ในทางตรงข้าม มีผู้ป่วยอีกรายหนึ่งได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
ด้วยโรคเดียวกันนาน 1 เดือน หลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว 5 วัน เริ่มมีอาการของหัด เหมือนผู้ป่วยรายแรก
รายหลังนี้ถือว่าเป็นโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล เพราะจากระยะฟักตัว
ของโรคนี้แสดงว่าผู้ป่วยได้รับเชื้อในโรงพยาบาล แม้ว่าจะเริ่มมีอาการหลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้วก็ตาม
อุบัติการ (Incidence)
ในประเทศไทยยังไม่มีตัวเลขที่แสดงอุบัติการของโรคติดเชื้อใน โรงพยาบาล
เนื่องจากยังขาดการรวบรวมข้อมูลและการศึกษาอย่างละเอียด ในการศึกษาอัตราความชุกชุม
(Prevalence) ของโรคนี้ในโรงพยาบาลศิริราชพบว่า
ในปี พ.ศ. 2526 มีอัตราความชุกชุมร้อยละ 9.08 และในปี พ.ศ. 2527 ร้อยละ 9.10 ส่วนที่โรงพยาบาลรามาธิบดี พ.ศ. 2521 มีอุบัติการ 10.44% และจากการศึกษาเบื้องต้นของกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
ที่ทำการสำรวจในบางโรงพยาบาลในปี พ.ศ. 2527
พบว่ามีอัตราใกล้เคียงกัน
ในประเทศที่พัฒนาแล้วมีอุบัติการตํ่ากว่านี้
เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางการป้องกันโรคนี้ และปัจจัยอื่นๆ
โดยทั่วไปพบประมาณร้อยละ 5-6
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราข้างต้นไม่ได้เปลี่ยนเลยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
อธิบายได้ว่า อัตราที่คงที่เกิดจากการพัฒนา การรักษา การฟ้องกัน
ซึ่งช่วยให้อัตราลดลง
แต่เนื่องจากการเจริญทางด้านการแพทย์ทำให้ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันน้อย(immunosuppression)
เพิ่มมากขึ้น เช่น จากการให้ยา การรักษาทาง รังสีวิทยา เป็นต้น
ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ติดเชื้อได้ง่าย
สำหรับประเทศไทยซึ่งกำลังพัฒนาการรักษาผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันโรคตํ่าจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี
ถ้าไม่พัฒนาการป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแล้ว
โรคนี้ก็จะมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลมีอัตราสูงในโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก
โดยเฉพาะโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ซึ่งนอกจากมีผู้ป่วยมากแล้ว
ยังมีการรักษาที่ช่วยยืดอายุผู้ป่วย เช่น เครื่องช่วยหายใจ, เครื่องกระตุ้นหัวใจ, การรักษาที่ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคน้อยลง, การตรวจที่ invasive,
การผ่าตัดใหญ่ ฯลฯ เป็นต้น
ซึ่งล้วนแต่เอื้ออำนวยให้เกิดโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น