บทที่ 1
บทนำ
1. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มากขึ้น
เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตไปแล้วเพราะสามารถเข้าถึงได้ง่ายการศึกษาเกี่ยวกับ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล
มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับบุคลากรทางการแพทย์
เนื่องจากในการปฏิบัติงานนั้นมีโอกาสที่จะสัมผัสกับสิ่งคุกคามต่อสุขภาพอนามัยและความไม่ปลอดภัยในด้านต่างๆ
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ตลอดทั้งงานมีลักษณะและกระบวนการในการทำงานที่มีความหลากหลายและซับซ้อน
บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ที่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง
จึงส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดการเจ็บปวดด้วยโรคหรืออุบัติเหตุจากการทำงาน เช่น
การปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้อง การติดเชื้อจากการทำงาน
รวมทั้งการมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม
ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของตัวบุคลากร
และอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรนำไปสู่ความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กรได้ นอกจากนี้ความเสี่ยงต่ออันตรายที่เกิดจากการทำงานได้ตลอดเวลา
บุคลากรทางการแพทย์ก็อยู่ในกลุ่มที่มีโอกาสได้รับอันตรายดังกล่าว
การที่ได้เรียนรู้การป้องกันและผลกระทบที่จะเกิดจากอันตรายจากการทำงาน
ทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นส่วนสารเคมีที่เป็นอันตรายมีอยู่มากมายหลายชนิด
ซึ่งสารเคมีแต่ละชนิดล้วนมีความเป็นพิษหรือความเป็นอันตรายที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ
เช่น คุณสมบัติของสารเคมี ระดับความเข้มของสารเคมี ระยะเวลา ความถี่ในการสัมผัส
เพศและอายุของผู้สัมผัสสารเคมี เป็นต้น ในการปฏิบัติงานกับสารเคมี มีความเสี่ยงที่อาจเกิดอันตรายหรือผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้
หากผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ความเข้าใจ
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับสารเคมีควรทราบข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับสารเคมี
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงวิธีการป้องกันควบคุมอันตรายจากสารเคมีที่ถูกต้องและเหมาะสมในการทำงานในโรงพยาบาล
และปัจจุบันอันตรายทางด้านรังสีนั้น
กำลังเป็นที่สนใจเป็นอย่างมากทั้งบุคคลทั่วไปและบุคคลที่ต้องปฏิบัติงานหรือเกี่ยวข้องกับรังสี
ซึ่งจากเหตุการณ์การเกิดอุบัติเหตุทางรังสี
การเกิดการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่น อันสืบเนื่องจากเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ในปี พ.ศ.2554 ยิ่งทวีความน่าสนใจเกี่ยวกับอันตรายทางรังสีต่อสุขภาพมากขึ้น
ดังนั้นการรู้จักและป้องกันอันตรายจากรังสีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับรังสี
เช่นบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีเพื่อการรักษาผู้ป่วย
เป็นต้น โรงพยาบาลเป็นองค์กรในให้บริการสุขภาพ
มีสิ่งที่เป็นอันตรายแอบแฝงอยู่เกิดจากกระบวนการทำงาน
และสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
หนึ่งในนั้นคือสิ่งคุกคามทางชีวภาพ บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ที่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง
ทั้งสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย สิ่งส่งตรวจ นอกจากนี้ยังมีโรคที่ติดตามสิ่งของเหลือใช้
ขยะติดเชื้อและเสื้อผ้าของผู้ป่วย ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ
ซึ่งบุคคลเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
ช่างซ่อมบำรุง เภสัชกร ผู้ปฏิบัติงานตลอดจนนักศึกษาที่ขึ้นฝึกปฏิบัติ
ล้วนมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ การปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
หากผู้ปฏิบัติงานไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการติดตั้งเครื่องมือ การใช้งาน
การบำรุงดูแล การเก็บรักษา กระบวนการทำลายของเสียที่เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการที่ถูกต้อง
อาจก่อให้เกิดอันตายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ร่วมงานอื่นๆได้มาก
นอกจากนี้สารเคมีหรือเครื่องมือที่ใช้งานเหล่านั้นก็มีวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน
ไม่สามารถจะใช้วิธีเดียวกันได้ตลอด
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องศึกษาวิธีการดูแล
การเอาใจใส่ การเลือกใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ถูกต้องเหมาะสม
กำหนดวิธีการทำงานที่ดีเพื่อให้งานในห้องปฏิบัติการมีความปลอดภัยมากที่สุด
ส่วนการป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ
นับเป็นภารกิจสำคัญกระการหนึ่ง ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ความสำคัญของปัญหาการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศในสถานพยาบาลมีมากขึ้น
ได้แก่ การมีโรคอุบัติใหม่หรืออุบัติซ้ำระบบทางเดินหายใจซึ่งแพร่กระจายทางอากาศได้
โครงสร้างอาคารสถานพยาบาลที่ไม่เอื้อต่อการระบายอากาศอย่างเพียงพอ
การใช้เครื่องปรับอากาศในพื้นที่สำหรับดูแลผู้ป่วย
โดยไม่มีการกรองหรือระบายอากาศตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างเหมาะสม
การใช้การใช้ระบบปรับสภาวะอากาศพิเศษในโรงพยาบาลจะช่วยให้เป็นแนวทางในการจัดการระบบปรับสภาวะอากาศพิเศษในโรงพยาบาลจะช่วยให้เป็นแนวทางในการจัดการจัดการระบบปรับอากาศพิเศษที่มีอยู่ภายในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นกลุ่มของข้าพเจ้าจึงคิดทำโครงงานเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล
เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาให้แก่บุคลากรทางการแพทย์
ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานทางด้านความปลอดภัย
โดยจะทำการรวบรวมเนื้อหาและจัดทำเป็นเว็บบล็อกเพื่อให้เข้ากับโลกปัจจุบันที่มีความสะดวกรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่าย
เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจการป้องกันและดูแลสุขภาพของตนเอง
และบุคลาการทางการแพทย์
อ้างอิง : กรมควบคุมโรค
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. คู่มือการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด
, 2554.
ดร. นลินี ศรีพวง. พิษและอันตรายจากสารเคมี. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : http://rohed-center.com/abstract/danger%20of%20chem.pdf.
(วันที่ค้นข้อมูล : 5 กันยายน 2555).
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก
เรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล
2. เพื่อศึกษาเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาลอย่างละเอียดและเข้าใจ
3.
เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาให้ความรู้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อบุลคลากรทางการแพทย์และผู้ที่สนใจทั่วไป
3. สมมุติฐานของโครงงาน
นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลป้องกันอันตรายและผลกระทบที่อาจเกิดจากกระบวนการทำงาน
4. ขอบเขตโครงงาน
1. ศึกษาการป้องกันความปลอดภัยในการทำงานในโรงพยาบาล
2. ศึกษาการวิธีการควบคุมและป้องกันอันตรายจากสารเคมี
3. ศึกษาหลักการและองค์ประกอบของการดำเนินงานอาชีวอนามัยในโรงพยาบาล
5. วิธีการดำเนินงาน
1. กำหนดหัวข้อหลักเพื่อที่จะศึกษาเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล
2.
ขอคำแนะนำจากอาจารย์ประจำรายวิชา
3. แบ่งหน้าที่กันหาข้อมูลที่จะศึกษา
4.
นำข้อมูลที่ได้มาจัดเรียงตามหัวข้อที่วางไว้
5. ลงมือปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้
6. ประเมินผลการศึกษา
6. ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ได้ทราบถึงหลักการและองค์ประกอบของการดำเนินงานอาชีวอนามัยในโรงพยาบาล
2. ได้ทราบถึงวิธีการควบคุมและป้องกันอันตรายจากสารเคมี
3. ได้ทราบถึงวิธีการการป้องกันความปลอดภัยในการทำงานในโรงพยาบาล
4. ได้ทราบถึงระดับความสว่าง ระดับเสียงและท่าทางที่เหมาะสมในการทำงาน
5.
ได้สื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับเรื่องอาชีวอนามัย
และความปลอดภัยใน โรงพยาบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น