ท่าทางในการทำงานที่ถูกสุขลักษณะ (Ergonomics
in the work place)
แนวทางป้องกันความเสี่ยง
1. ลักษณะงานที่ต้องนั่งเป็นเวลานาน การใช้คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน เช่น เลขานุการ ผู้ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. การใช้คอมพิวเตอร์ ควรมีการพักสายตา
และ ผ่อนคลายอิริยาบถทุก
20 นาที
2. ขอบบนสุดของจอภาพอยู่ในแนวระดับเดียวกับสายตา
หรือระดับสายตาทำมุมประมาณ
15 องศากับจุดกึ่งกลางของจอภาพ จะทำให้สามารถมองจอภาพได้อย่างสบาย ไม่ต้องก้มหรือ
เงยคอมากเกินไป
15 องศากับจุดกึ่งกลางของจอภาพ จะทำให้สามารถมองจอภาพได้อย่างสบาย ไม่ต้องก้มหรือ
เงยคอมากเกินไป
3. ปรับการแสดงผลของเอกสาร ที่หน้าจอภาพให้ใหญ่ขึ้น
เพื่อสะดวกในการมองเห็น
ทำให้ไม่ต้องโน้มตัวหรือชะโงกหน้าเข้าไปมองจอภาพใกล้ๆ
ทำให้ไม่ต้องโน้มตัวหรือชะโงกหน้าเข้าไปมองจอภาพใกล้ๆ
4. ระยะห่างที่เหมาะสม ควรนั่งห่างจากจอคอมพิวเตอร์ ประมาณ 1
– 2 ฟุต การนั่งใกล้จอภาพมากเกินไป จะเกิดความเครียดกับประสาทตา ถ้านั่งไกลเกินไป
ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์จะต้องโน้มตัว หรือชะโงกหน้าเข้าไปใกล้จอภาพมากขึ้น
ทำให้มีปัญหากับกระดูกสันหลังโดยเฉพาะคอและหลัง
5. เวลาใช้คอมพิวเตอร์ ให้นั่งตรงหน้าจอภาพ อย่านั่งเฉียงทำมุมกับจอภาพ เนื่องจาก
ทำให้ต้องหันเอียงคอ มาก เกินไป ทำให้ปวดคอได้
ทำให้ต้องหันเอียงคอ มาก เกินไป ทำให้ปวดคอได้
6. นั่งในท่าหลังตรง หัวไหล่แขนและ
ข้อมืออยู่ในท่าผ่อนคลาย โดยข้อศอกงอประมาณ 70 – 90 องศา
7. ความสูงของโต๊ะคอมพิวเตอร์และเก้าอี้นั่ง ต้องสัมพันธ์กัน
และเหมาะสมกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ โต๊ะคอมพิวเตอร์
ควรมีความสูงพอเหมาะและสะดวกในการใช้งาน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถเคลื่อนย้าย เก้าอี้และวางขาไว้ใต้โต๊ะได้อย่างสะดวกสบาย และขณะใช้งาน แขนท่อนปลายสามารถวางอยู่ในแนวขนานกับพื้น เก้าอี้นั่งควรปรับระดับความสูงได้ และช่วยรองรับแผ่นหลัง
เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละคน โดยปรับให้อยู่ในระดับที่สามารถวางเท้า 2 ข้างราบกับพื้น และในท่าเข่างอประมาณ 90
– 105 องศา อาจใช้หมอนรองหลังเล็กๆ รองรับความโค้งของกระดูกสันหลังระดับบั้นเอว จะทำให้สามารถนั่งทำงานให้สบายขึ้น
ความลึกของที่นั่งควรมีระยะห่างระหว่างข้อพับเข่าและขอบหน้าสุดของที่นั่ง ประมาณ 1 – 4 นิ้ว ถ้าที่นั่งสั้นเกินไป
จะทำให้มีแรงกดที่บริเวณก้นและต้นขามาก ทำให้ปวดเมื่อย ถ้าที่นั่งยาวเกินไป อาจกดเส้นเลือด
ที่บริเวณหลังเข่า ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดี ทำให้ปวดชาขาได้ง่าย และเก้าอี้นั่งควรมีที่วางแขน เพื่อพยุงน้ำหนังร่างกายเป็นการลดแรงกดต่อหมอนรองกระดูกสันหลัง
จะทำให้มีแรงกดที่บริเวณก้นและต้นขามาก ทำให้ปวดเมื่อย ถ้าที่นั่งยาวเกินไป อาจกดเส้นเลือด
ที่บริเวณหลังเข่า ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดี ทำให้ปวดชาขาได้ง่าย และเก้าอี้นั่งควรมีที่วางแขน เพื่อพยุงน้ำหนังร่างกายเป็นการลดแรงกดต่อหมอนรองกระดูกสันหลัง
2. ลักษณะงานที่เหมาะสมในท่านั่ง
1. ควรเป็นงานที่มีน้ำหนักเบา
ชิ้นงานจำเป็นต้องหยิบจับและเคลื่อนย้าย บนโต๊ะทำงาน ควรมีน้ำหนักไม่เกิน 4
- 5 กิโลกรัม
2. เป็นงานที่ต้องใช้มือ
ทักษะและความละเอียดอ่อนของมือเป็นหลัก เช่น งานเขียน เป็นต้น
3. ชิ้นงานที่ทำควรอยู่บนโต๊ะทำงาน
เป็นส่วนใหญ่
4. สามารถเอื้อมหยิบจับชิ้นงานทั้งหมดที่วางอยู่บนโต๊ะทำงานได้สะดวก
3. ลักษณะงานที่เหมาะสมในท่ายืน
การใช้แขนและมือ
เหมือนกับการนั่งทำงาน โดยต้องปรับระดับความสูงของพื้นผิวงาน จัดวางอุปกรณ์ต่างๆ และส่วนประกอบชิ้นงานให้เป็นระเบียบ
และอยู่ใกล้ๆ กัน เพื่อให้สะดวกใช้
ในกรณีที่ต้องมีการยกหรือเคลื่อนย้ายชิ้นงานที่มีน้ำหนักมาก ต้องมีอุปกรณ์ช่วย
การทำงานในท่ายืนจะเหมาะสมกับงานที่มีน้ำหนักมาก
เกินกว่า 4-5 กิโลกรัม ต้องมีการหยิบจับชิ้นงาน
หรือส่วนของชิ้นงานบ่อยๆ พื้นผิวงานมีหลายส่วน
และต้องมีการเคลื่อนย้ายจากส่วนหนึ่งไปยังอีกส่วนหนึ่งบ่อยๆ งานที่ต้องก้มๆ เงยๆ หรือใช้แรงดึง-ดันบ่อยๆ
การปรับระดับความสูงของผิวงาน
ให้มีความเหมาะสมกับการทำงานในท่ายืน จะช่วยลดความเครียดต่อกระดูกสันหลังและข้อต่อต่างๆ
ในร่างกาย เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคนงานให้มากขึ้น และลดอุบัติการณ์ความเสี่ยงและความเจ็บป่วยจากการทำงานได้
งานละเอียด พื้นผิวงานควรมีความสูง 7
– 10เซนติเมตร เหนือระดับเอว
หรือสูงประมาณ 95 – 105เซนติเมตร สำหรับผู้หญิงและ ประมาณ 100 – 110เซนติเมตร สำหรับผู้ชาย
ชิ้นงานที่มีน้ำหนักเบา พื้นผิวงานควรอยู่ในแนวระดับต่ำกว่าเอว 5 เซนติเมตร หรือประมาณ 85
– 90เซนติเมตร สำหรับ ผู้หญิง และ 90 – 95 เซนติเมตรสำหรับผู้ชาย
ชิ้นงานที่มีน้ำหนักมาก พื้นผิวงานควรจะต่ำลงไปอีก สูงประมาณ 70 – 85 เซนติเมตร สำหรับผู้หญิง และ
75 – 90 เซนติเมตร สำหรับผู้ชาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น