วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

โรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานทำงานในโรงพยาบา ความเครียดในงาน
เหตุก่อความเครียดทางจิตสังคม
1.       ระบบบริหารงาน
2.       ความสัมพันธ์ในงาน
3.       สังคมนอกงาน
4.       สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เคมี กายภาพ เครื่องมือ  เครื่องจักร
5.       การจ้างงาน
6.       การจัดงาน
ข้อเสนอแนะการจัดการความเครียดในองค์กร
1.       การค้นหาปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดไม่ควรมองแยกส่วน แต่ควรมองให้เป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน
2.       โครงการลดความเครียดในที่ทำงาน
3.       จัดให้มีโครงการบริหารความเครียดในองค์กร หรือจัดกิจกรรมลดความเครียดในองค์กร
4.       ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานให้น่าอยู่ น่าทำงาน

6.   กลุ่มอาการ กระดูก  ข้อ  กล้ามเนื้ออักเสบ   เช่น
6.1 เส้นประสาทข้อมืออักเสบ
·       เป็นอาการเส้นประสาทถูกกดทับที่พบบ่อยที่สุด
·       จะมีอาการปวด ชา และกล้ามเนื้อมือลีบ เป็นอาการเฉพาะ
อาการ และ อาการแสดง
·       ปวดและ ชา นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ ครึ่งหนึ่งของนิ้วกลาง(ส่วนที่เลี้ยงโดย median nerve)
·       บางรายตื่นกลางดึกเพราะปวดเมื่อสะบัดข้อมือจึงทุเลา
·       อาการกำเริบเมื่องอหรือเหยียดข้อมือขณะทำงาน
การป้องกัน
·       ลดความเร่งในการทำงาน ลดระยะเวลาที่ทำงานบิดข้อมือลง
·       บริหารกล้ามเนื้อข้อมือให้แข็งแรง
·       ปรับท่าทางในการทำงานให้พอดี
·       ใช้เครื่องมือช่วยในการปฏิบัติงานแทนการใช้แรงข้อมือ

6.2 โรคปวดหลังในงาน  
          เกิดการตึงตัว เกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณเอว หรือ หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อน
สาเหตุของโรคปวดหลัง
·       การนั่งผิดท่าเช่น การนั่งหลังโก่ง นั่งบิดๆ
·       นั่งขับรถหลังโก่ง
·       การยืนที่ผิดท่า
·       การยกของผิดท่า
·       การนอนบนที่นอนที่นุ่มหรือแข็งเกินไป
·       ร่างกายไม่แข็งแรง
·       ทำงานมากไป
การป้องกัน
·       คัดคนให้เหมาะกับงาน
·       การหมั่นออกกำลังกายเสริมความแข็งแรง
·       ท่าทางที่ถูกต้อง
·       น้ำหนักที่ยกไม่เกินพิกัด การใช้เครื่องทุ่นแรง
ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคปวดหลัง
·       หลีกเลี่ยงจากการงอเอว ให้งอข้อสะโพกและเข่าร่วมด้วย
·       หลีกเลี่ยงจากการยกของหนักโดยเฉพาะที่อยู่เกินเอว
·       หันหน้าเข้าสิ่งของทุกครั้งที่จะยกของ
·       ถือของหนักชิดตัว
·       ไม่ยกหรือผลักของที่หนักเกินตัว หลีกเลี่ยงการยกของที่มีน้ำหนักไม่เท่ากัน
·       หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
·       เปลี่ยนท่าบ่อยๆ
·       การถูพื้น ดูดฝุ่น การขุดดิน ควรจะถือเครื่องมือไว้ใกล้ตัว ไม่ก้าวยาวๆหรือเอื้อมมือหยิบของ
·       ให้นั่งสวมถุงเท้า รองเท้า ไม่ยืนเท้าข้างเดียวสวมรองเท้าหรือถุงเท้า
·       หลีกเลี่ยงการแอ่นหรืองอหลัง เช่นการแอ่นหลังไปข้างหลังหรือก้มเอานิ้วมือจรดพื้น
·       เมื่อจะไอหรือจามให้กระชับหลังและงอหัวเข่า
·       เวลาปูเตียงให้คุกเข่า
·       นั่งหลังตรงและมีพนักพิงที่หลัง  หาหมอนหรือผ้ารองบริเวณเอว ให้ยืนยืดเส้นทุก 20-30 นาที
·       การยืน..อย่ายืนหลังค่อม  ให้ยืนยืดไหล่อย่าห่อไหล่เพราะจะเมื่อยคอ  อย่าใส่รองเท้าที่ส้นสูงมาก
·       การยก ย้ายสิ่งของ   ให้เลือกวิธีอื่นเช่น การผลักหรือดัน  ,  เวลาจะยกให้เดินเข้าใกล้สิ่งที่จะยก ย่อเขาลงแล้วจับแล้วยืนขึ้น  , ไม่ก้มหลังยกของ

 อ้างอิง

http://www.prosofthrmi.com/ArticleList.aspx?ArticleTypeID=2138
http://maptaphuthospital.com/node/12
https://sites.google.com/site/sittkomkm/xachiw-xnamay







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น