วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การดำเนินการด้านอาชีวอนามัยในโรงพยาบาล
                     การดำเนินงาน   หมายถึง การดำเนินงานเพื่อการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล ซึ่งนับเป็นผู้ประกอบอาชีพในสถานที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข อันมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานทั้งด้านกายภาพ เช่น การสัมผัสรังสีในการรักษา/การวินิจฉัยโรค เสียงที่ดังในโรงซักฟอก ปัจจัยเสี่ยงด้านเคมี เช่น การสัมผัสกับยาบางชนิด ก๊าซที่ใช้ในห้องผ่าตัด ด้านชีวภาพ เช่นการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อ การวิเคราะห์เชื้อในห้องปฏิบัติการ ปัจจัยเสี่ยงด้านท่าทางการทำงาน เช่น การเข็น/การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การบาดเจ็บจากการทำงาน เช่น การถูกเข็มตำ รวมถึงปัจจัยทางจิตวิทยาสังคมในการทำงาน เช่น ความเครียดจากการดูแลผู้ป่วยจำนวนมาก ความไม่พึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ เป็นต้น ซึ่งหากไม่ได้รับการจัดการที่ดีแล้ว บุคลากรต่างๆ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลนับว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทำงานที่ไม่น้อยกว่าผู้ประกอบอาชีพในภาคการทำงานอื่นๆ แม้ว่าผู้ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลส่วนใหญ่นั้นเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพในระดับที่สูงกว่าบุคลากรด้านอื่นๆแต่ในฐานะผู้ให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้อื่นนั้น บางครั้งอาจมองข้ามหรือละเลยการดูแลสุขภาพของตนเองและเพื่อนร่วมงานได้ ในขณะที่ภายในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลนั้น ก็มีบุคลากรอื่นๆ  เช่น พนักงานรักษาความสะอาดพนักงานรักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่โรงครัว โรงซักฟอก งานซ่อมบำรุง ที่อาจมีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพจากการทำงานไม่มากนักร่วมปฏิบัติงานในสถานที่เดียวกัน จึงนับว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการทำงานเช่นกันมีรายงานการศึกษาของ Gun ในปี 1983 อ้างในของสถาบันอาชีวอนามัยและความปลอดภัยแห่งชาติ  ประเทศสหรัฐอเมริกา (National Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH) ในปี 1988 พบว่าผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมีอัตราอุบัติการณ์การเกิดผลกระทบต่อสุขภาพในลักษณะเฉียบพลัน (Acute conditions) ที่สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดในทุกกลุ่มอายุ เพศ เชื้อชาติ โดยพบว่า เกินกว่าครึ่งหนึ่งของอัตราอุบัติการณ์การเกิดผลกระทบต่อสุขภาพในลักษณะเฉียบพลันเป็นผลจากปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบหายใจ และพบว่าผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมีความเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพในลักษณะเฉียบพลันสูงกว่ากลุ่มผู้ปฏิบัติงานในอาชีพอื่นๆ ทั้งหมดถึง 1.5 เท่า นอกจากนี้ปัญหาสุขภาพในระบบอื่นๆ ได้แก่ การติดเชื้อ โรคระบบทางเดินอาหารปัญหาการได้ยิน การตั้งครรภ์และการกำเนิดของทารก โรคผิวหนัง และโรคเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งพบว่ามีความเสี่ยงที่สูงกว่ากลุ่มผู้ปฏิบัติงานอาชีพอื่นๆ โดยพบว่า ปัญหาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหลัง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น