ตัวชี้วัดทางชีวภาพของสารเคมี
ถ้าจะเปรียบเทียบให้ง่ายเข้า
อยากให้นึกถึงอาหารที่เรารับประทานกันทุกวันนั้นจะอร่อยและปลอดภัยต่อการบริโภคขึ้นอยู่กับปัจจัย
ทั้งสถานที่เตรียม อุปกรณ์ที่ใช้ สูตรที่ใช้ในการปรุงอาหาร เชฟหรือพ่อครัว
วัตถุดิบในการประกอบอาหาร การจัดเก็บและการจัดเสริฟโดยบริกร
รวมทั้งมาตรฐานในการดูแลในการประกอบอาหารต่างๆ ลองคิดภาพดูสิครับ
ต่อให้เชฟหรือพ่อครัวปรุงกันอย่างสุดฝีมือ
ใส่วัตถุดิบชั้นเยี่ยม
แต่ถ้าบริกรที่ยกอาหารมาเสริฟนั้นจุ่มนิ้วมือที่มีเล็บยาวๆ ดำๆ
ลงไปในอาหารอย่างชัดเจน ท่านจะกล้าทานอาหารจานนั้นหรือไม่
คำตอบคงไม่กล้าทานหรือไม่แม้แต่จะชิม
เช่นเดียวกันกับการทำให้ปราศจากเชื้อ
ที่ต้องมีปัจจัยนำเข้าที่ดี เช่น มีแผนผังในการจัดแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน
ครุภัณฑ์ที่ใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
บุคคลากรต้องมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานที่เพียงพอ
มีการจัดทำนโยบายและวิธีปฏิบัติที่ได้มาตรฐานและถูกต้องตามหลักวิชาการที่เหมาะสม
เป็นปัจจุบัน รวมทั้งต้องมีการควบคุมคุณภาพของกระบวนการ
การทำให้ปราศจากเชื้อทุกขั้นตอน
และต้องมีตัวชี้วัดเพื่อติดตามประเมินผลลัพธ์ในการทำให้ปราศจากเชื้ออย่างต่อเนื่อง
ซึ่งตัวชี้วัดที่ใช้ในการตรวจสอบติดตามและช่วยในการตัดสินใจที่จะปล่อยผลิตภัณฑ์ออกไปใช้กับผู้ป่วยได้แก่
-
ตัวชี้วัดทางกายภาพ (Physical
Indicators)
-
ตัวชี้วัดทางเคมี (Chemical
Indicators)
-
ตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Biological
Indicators)
การนำข้อมูลที่ได้จากตัวชี้วัดทั้ง 3 ชนิด
เพื่อนำมาประมวลผลร่วมกันในการตัดสินใจเพื่อปล่อยผลิตภัณฑ์ออกไปใช้กับผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย
ในที่นี้เราจะมาเจาะรายละเอียดในเรื่อง ตัวบ่งชี้ทางเคมี
ฉบับใหม่ล่าสุดจากองค์กรมาตรฐานสากล ISO (International Organization for
Standardization)
มาตรฐานฉบับนี้ได้มีการทบทวนและแก้ไขจากฉบับเดิมที่ตีพิมพ์เมื่อปี
ค.ศ. 1995 โดยทาง AAMI
(Association for the Advancement of Medical Instrumentation) ได้นำมาตรฐานดังกล่าวไปใช้แทนมาตรฐานตัวบ่งชี้ทางเคมีฉบับเดิมคือ
ANSI/AAMI ST60, 1996 CEN EN (The
European for Committee Standardization) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดทำมาตรฐานแห่งชาติในสหภาพยุโรป
ก็ได้นำมาตรฐานดังกล่าวไปใช้แทนมาตรฐานเรื่องตัวบ่งชี้ทางเคมีฉบับเดิมคือ EN
867 Part 1. 1997 โดยไม่มีการแก้ไขเช่นกันเกณฑ์การแบ่ง
ตัวชี้วัดทางเคมี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น