วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2559

รังสีในการทำงาน
แนวทางการป้องกันความเสี่ยง
สำหรับบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน
-  มีเครื่องวัดปริมาณรังสีประจำตัวเป็นรายเดือนทุกคน
มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์กำบังรังสีที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ตรวจประเมินดูแลและติดตามผลในผู้ที่สงสัยว่าได้รับปริมาณรังสีเกินกำหนด
-  กำหนดแนวปฏิบัติในห้องปฏิบัติงานรังสีแต่ละห้องและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
-  กำหนดแนวปฏิบัติในกรณีเกิดภาวะไม่ปกติในระหว่างปฏิบัติงานรังสี
-  ปฏิบัติตามระบบตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทางรังสีอย่างสม่ำเสมอภายใต้มาตรฐานที่กำหนดสำหรับแต่ละเครื่อง
-   มีคำเตือนอย่างชัดเจนในบริเวณปฏิบัติงานรังสีสำหรับบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติงาน
-   มีการพัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเสมอ

สำหรับบุคลากรที่ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี
ปฏิบัติตามคำเตือนในบริเวณปฏิบัติงานรังสีอย่างเคร่งครัด
-  หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับรังสีควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล หรือปรึกษาแพทย์รังสีในโรงพยาบาล
      ทั่วไป
สำหรับผู้ป่วยที่มารับบริการทางรังสี
ประเมินความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยทุกรายก่อนเริ่มการตรวจรักษาด้วยรังสี
ดูแลผู้ป่วยให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำของเจ้าหน้าที่ในการมารับการตรวจรักษาด้วยรังสีทุกครั้ง
หากผู้ป่วยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจรักษาควรให้ปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลโดยตรง

การปฏิบัติเมื่อเกิดความเสี่ยง
-  ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดความเสี่ยง  ตามคู่มือการบริหารความเสี่ยง
-  เข้ารับการตรวจรักษาตามขั้นตอนการรับบริการ
-   ปฐมพยาบาลเบื้องต้น และเข้ารับการตรวจรักษาตามขั้นตอนการรับบริการ
-   แจ้งข้อมูลการเจ็บป่วย/อุบัติเหตุตามแบบรายงานการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุของโรงพยาบาล
เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา และพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงนั้นๆ ต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น