วิธีการควบคุมและป้องกันอันตรายจากสารเคมี
สภาพแวดล้อมในการทำงานด้านเคมีใช้หลักการควบคุมอันตราย
ทั้ง 3 ทาง
1. แหล่งกำเนิด มีหลายวิธี เช่น
- ใช้สารเคมีอื่นทดแทน
- การปิดคลุมแล่งหรือกระบวนการที่ใช้สารเคมี ที่เป็นพิษ หรืออันตราย
- แยกกระบวนการผลิต/ขั้นตอน
การผลิตที่ใช้สารเคมีอันตรายออกจากบริเวณการทำงาน
- การติดตั้งระบบระบายอากาศเฉพาะที่
- การลดพื้นที่ผิวของแหล่งกำเนิดที่ฟุ้งกระจาย
หรือการระเหยของสารเคมี
- นำสารเคมีมาใช้ในวิธีเปียกหรือชื้นเพื่อลดการฟุ้งกระจาย
- การจัดเก็บวัตถุดิบและสารเคมีต่างๆอย่างเป็นระเบียบและเหมาะสม
- นำสารเคมี/วัตถุดิบ มาจำนวนที่พอใช้ในแต่ละวัน
- เปลี่ยนวิธีการหรือระบบการทำงาน
- การจัดทำข้อมูลเคมีภัณฑ์ หรือ MSDS
- การติดป้าย เครื่องหมาย และสัญลักษณ์
- การบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
2. ทางผ่าน มีหลายวิธี เช่น
- การเก็บรักษาให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาด
- การใช้หลักการระบายอากาศแบบทั่วไป หรือการระบายอากาศเพื่อเจือจาง
- การเพิ่มระยะทางระหว่างแหล่งมลพิษกับผู้ปฏิบัติงานให้ห่างไกลมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงการทำให้มลพิษฟุ้งกระจายเพิ่มมากขึ้น
- การใช้ระบบฟอกอากาศ
- การจัดทำข้อกำหนดและข้อปฏิบัติการทำความสะอาดบริเวณที่ทำงาน
- การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดสารเคมีและให้สัญญาณเตือน
3. ตัวผู้ปฏิบัติงาน มีหลายวิธี เช่น
- การให้ความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับเคมีอันตรายของสารเคมี
- การสร้างจิตสำนึกของการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย
- การแยกพนักงานที่เกี่ยวข้อง
- การให้สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
- การตรวจร่างกายพนักงานที่ทำงานสัมผัสกับสารเคมี
- การสร้างสุขนิสัยให้กับพนักงาน
- การจัดให้มีสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
เช่น อ่างล้างมือ ที่ชำระล้างร่างกาย
- ห้ามให้พนักงานนำอาหาร
เครื่องดื่ม มารับประทานในบริเวณที่ทำงานกับสารเคมี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น