โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบบ่อย
จากการศึกษาในโรงพยาบาลศิริราช
ในปี พ.ศ. 2526 และ 2527 พบว่าโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบบ่อยนั้นคล้ายคลึงกับที่พบในต่างประเทศ
โรคที่พบบ่อยเรียงตามลำดับแสดงไว้ในตารางที่ 1.1ตารางที่ 1.1 โรคติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พบบ่อยจากการศึกษาในโรงพยาบาลศิริราช
แสดงเป็นอัตราร้อยละ
การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะมีอัตราสูงที่สุดไม่ว่าจะศึกษาจากที่ใด
ทั้งนี้เนื่องจากมีการใส่สายสวนปัสสาวะในผู้ป่วยจำนวนมาก
และการใส่สายสวนนี้มีอัตราการติดเชื้อค่อนข้างสูง
จากการศึกษาในโรงพยาบาลศิริราชข้างต้นพบว่า มีอัตราการติดเชื้อที่ผิวหนัง
และการติดเชื้อบาดแผลอุบัติเหตุ, นํ้าร้อนลวก, ไฟไหม้
ค่อนข้างสูงและสูงกว่าในต่างประเทศ ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากประเทศไทยมีอากาศร้อน
มีแมลง มาก โอกาสที่มีบาดแผลจากการเกา, การเกิดแผลพุพอง
และการเกิดแผลกดทับจึงมีมากกว่าประเทศหนาว
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลเกินร้อยละ 60 เป็นเชื้อกรัมลบทรงแท่ง
และส่วนใหญ่เป็นเชื้อที่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพหลายๆ ขนาน ดังตารางที่
ตารางที่ 1.2 เปรียบเทียบเชื้อที่พบบ่อยในโรงพยาบาลศิริราชปี พ.ศ. 2526 กับในประเทศสหรัฐอเมริกา แสดงเป็นอัตราร้อยละ
นอกจากเชื้อแบคทีเรียข้างต้นแล้ว Hepatitis B virus ก็เป็นสาเหตุที่สำคัญ
แม้ว่าประเทศไทยยังไม่มีตัวเลข nosocomial viral hepatitis ก็ตาม แต่จาก carrier
rate ก็พอที่จะคาดได้ว่ามีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ได้รับเชื้อนี้ในโรงพยาบาล
เชื้ออื่นๆ ที่พบได้บ่อย ได้แก่ เชื้อรา Candida, M. tuberculosis เชื้อใหม่ๆ ที่พบได้ เช่น Atypical
mycobacteria, Legionella, Chlamydia, Group JK bacteria เป็นต้น
และในปัจจุบันที่ตื่นเต้นมากก็คือโรค AIDS ที่ได้รับจากการให้เลือด
กลไกการแพร่เชื้อ (Mechanism of transmission) มีหลายอย่างคือ
1. โดยการสัมผัส
เป็นกลไกที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาล เช่น
ก. บุคลากรทางการแพทย์ที่จับต้องผู้ป่วย อาจจะเป็นเชื้อจากตัวบุคลากรเอง
แต่ส่วนใหญ่มือเปื้อนเชื้อจากผู้ป่วยอื่นแล้วมาจับต้องตัวผู้ป่วยรายต่อไป เนื่องจากส่วนใหญ่ละเลยการล้างมือ
หลังจากจับต้องผู้ป่วยแต่ละราย
ข.
การฉีดยา, การให้สารนํ้าเข้าหลอดเลือดดำ,
การเจาะเลือด ถ้าไม่ระวังความสะอาดของเข็ม, กระบอกฉีดยา,
น้ำยาแล้ว โอกาสที่จะติดเชื้อมีมาก
ประเทศที่ร่ำรวยแล้วแก้ปัญหานี้โดยการใช้ disposable syringe, needle แต่ประเทศเรายากจน จำเป็นที่จะต้องใช้ซ้ำอีก ถ้าคอยระวังความสะอาด
ตรวจสอบคุณภาพในการทำลายเชื้ออยู่เสมอ ก็จะบรรเทาปัญหานี้ได้
ค.
การผ่าตัดต่างๆ
ง.
การใช้เครื่องมือช่วยชีวิตผู้ป่วย เช่นเครื่องมือช่วยหายใจ, เครื่องกระตุ้นหัวใจ
หรือการตรวจสอบบางอย่างเช่น C.V.P. line เป็นต้น
ซึ่งมืสายหรือท่อใส่เข้าไปในร่างกาย โอกาสที่จะติดเชื้อย่อมมีมาก
จ.
อาหาร, นํ้า, เครื่องดื่มต่างๆ
2. โดยทางอากาศ เชื้อโรคออกจากผู้ป่วยโดยการจาม, ไอ หรือแพร่กระจายออกไปจากผิวหนังหรือจากสิ่งที่มีเชื้อโรคปนอยู่เช่น
หนองที่เปื้อนตามเตียง พื้น ฯลฯ จะลอยไปในอากาศ ไปสู่ผู้ป่วยอื่นได้
หอผู้ป่วยที่ไม่มีการระบายอากาศที่ดี ย่อมมีโอกาสที่ทำให้มีการติดเชื้อโดยวิธีนี้
ได้ง่าย
3. โดยสัตว์พาหะ (vector) บ้านเรายังมีปัญหานี้
แมลงวันตอมแผล, อาหาร, แมลงสาบ
นำโรคทางเดินอาหารเป็นต้น
อย่างไรก็ตามเชื้อที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในโรงพยาบาลนั้น
ส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรียในตัวผู้ป่วยเองมากกว่าจากผู้อื่น เช่น
การติดเชื้อจากการคาสายสวนปัสสาวะมักเป็นเชื้อบริเวณ perineum ของผู้ป่วย
การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ทำให้เชื้อในลำไส้เปื้อนแผลเกิดการติดเชื้อตามมาเป็นต้น
กรรมวิธีที่ใช้ในการตรวจรักษาผู้ป่วย
ที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล(Inducing procedure)
ที่สำคัญมีตังนี้
1. การสวนปัสสาวะ
เป็นกรรมวิธีที่พบบ่อยที่สุด และในโรงพยาบาลศิริราชพบว่าประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลได้รับการสวนปัสสาวะ
2. การผ่าตัด การทำแผล
3. การให้สารนํ้าเข้าหลอดเลือดดำ
4. การใช้เครื่องมือช่วยหายใจ
5. การใส่ท่อต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย
เช่น endotracheal tube, I.v. line เป็นต้น
6. การฉีดยา เจาะเลือด
การตรวจรักษาด้วยกรรมวิธีต่างๆ ข้างต้น
ควรทำด้วยความระมัดระวัง และถ้าสามารถเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง
ในทางปฏิบัติมักจะละเลยกฎ วิธีการ หรือขั้นตอนที่ถูกต้อง
ทำให้เกิดผลแทรกซ้อนทางด้านติดเชื้อได้บ่อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น